หน้าหลัก
พระสมเด็จ วัดระฆัง
พระสมเด็จ วัดบางขุนพรหม
พระสมเด็จ วัดเกศไชโย
พระสมเด็จ วัดมหาธาตุ
พระสมเด็จ วัดอินทรวิหาร
พระโลหะ
พระอื่นๆ
วิดีโอ
บทความ
ติดต่อ
หน้าหลัก
หน้าหลัก
พระสมเด็จ วัดระฆัง
พระสมเด็จ วัดบางขุนพรหม
พระสมเด็จ วัดเกศไชโย
พระสมเด็จ วัดมหาธาตุ
พระสมเด็จ วัดอินทรวิหาร
พระโลหะ
พระอื่นๆ
วิดีโอ
บทความ
ติดต่อ
ขณะนี้มีผู้เข้าชม
มี 6 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์
สถิติผู้เข้าชม
8
6
4
9
9
3
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
รวม
703
1486
3830
845345
9328
12063
864993
Your IP: 3.238.72.122
Server Time: 2022-05-20 18:05:17
Visitors Counter
เขี้ยวพยัคฆ์มหาอำนาจ หลวงพ่อปาน วัดมงคลโคธาวาส
| ฮิต: 2204
เขี้ยวพยัคฆ์มหาอำนาจ หลวงพ่อปาน วัดมงคลโคธาวาส
“สำหรับนักสะสมนิยมเครื่องรางของขลัง คงไม่มีใครไม่รู้จัก
เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน
พระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังซึ่งล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ทรงเคารพศรัทธามาก”
ส่วนหนึ่งของพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง
“เสด็จประพาสมณฑลปราจิณ”
ที่ทรงกล่าวถึง
เสือเขี้ยวแกะ
ของหลวง
พ่อ
ปานไว้ว่า
“คุณวิเศษ ที่คนเลื่อมใส คือให้ลงตะกรุด ด้ายผูกข้อมือ รดน้ำมนต์ ที่นิยมกันมากคือ เขี้ยวเสือแกะที่เป็นรูปเสือ เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ฝีมือหยาบๆ ข่าวที่ร่ำลือกันว่า เสือนั้นเวลาจะปลุกเสกต้องใช้หมูมาล่อ ปลุกเสกเป่าเข้าไปเมื่อไรนั้นเสือจะกระโดดลงไปในเนื้อหมูได้ ตัวพระครูเองเห็นจะได้ความลำบากเหน็ดเหนื่อยในการที่ใครๆ กวนให้ลงโน่นลงนี่ เขาว่าบางทีก็หนีไปอยู่บนเขาโพธิ์ลังกา คนก็ยังตามไปกวนไม่เป็นอันหลับอันนอน แต่บริวารเห็นจะได้ผลประโยชน์ในการทำอะไรๆ ขาย เวลาแย่งชิงก็ขึ้นไปถึง 3 บาท ว่า 6 บาทก็มี ได้รูปเสือแล้วจึงไปให้พระครูปลุกเสก สังเกตดูอัธยาศัยเป็นคนแก่ใจดีมีกิริยาเรียบร้อย อายุ 70 แล้วยังไม่แก่มาก รูปร่างล่ำสันใหญ่โต”
จากพระราชนิพนธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าการเช่าบูชาเสือหลวงพ่อปานเป็นที่นิยมและมีราคาแพงมากในสมัยนั้น และเป็นที่นิยมมาเนิ่นนาน
ประวัติความเป็นมา
หลวงพ่อปาน เกิดที่คลองนางหงษ์ ตำบลบางเหี้ย อำเภอบางบ่อ สมุทรปราการ เมื่อปี พ.ศ. 2368 เป็นบุตรของนายปลื้ม และนางตาล โดยหลวงพ่อปานเป็นบุตรคนที่ 3 ในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 5 คน ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) จวบจนเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบท โดยมี
ท่านเจ้าคุณศากยมุนี
เป็นพระอุปัชณาย์ ท่านศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐานรวมถึงไสยศาสตร์ และได้รับการถ่ายทอดจากคณาจารย์หลายองค์จนเชี่ยวชาญ
หลังจากศึกษาในเรื่องกรรมฐานจนเป็นที่พอใจ แล้ว หลวงพ่อปานก็ได้กราบลาท่านเจ้าคุณพระศรีศากยมุนี เดินทางกลับมายังวัดบางเหี้ย อันเป็นบ้านเกิดในการกลับมาครั้งนี้ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อ หลวงพ่อเรือน ได้ติดตามมาอยู่กับท่านด้วย ต่อมาหลวงพ่อปานและหลวงพ่อเรือนได้ดั้นด้นไปจนถึง “วัดอ่างศิลา” อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และได้ฝากตัวเป็นสานุศิษย์ของ
” หลวงพ่อแตง ”
เจ้า อาวาสวัดอ่างศิลา โดยศึกษาด้านวิปัสสนาธุระไสยเวทย์มนต์ต่าง ๆ จนเชี่ยวชาญและสร้างชื่อเสียงให้หลวงพ่อปานเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะ “เขี้ยวเสือโคร่ง ซึ่งแกะเป็นรูปเสือนั่ง” เมื่อมีความเชี่ยวชาญแล้ว จึงได้อำลาพระอาจารย์ มาพำนักอยู่ที่วัดบ้านเกิดตนเอง และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส โดยมีหลวงพ่อเรือนเป็นรองเจ้าอาวาส ซึ่งทั้งสองรูป ได้ปกครองพระลูกวัด ทั้งด้านการศึกษาและการปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการปฏิบัติท่านจะอบรมสั่งสอนการปฏิบัติกรรมฐาน ให้แก่พระภิกษุ สามเณร ตลอดจนประชาชนพุทธบริษัทมิได้ขาด และตัวท่านเองก็ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดจนพระเณรเคารพยำเกรงท่านเป็นอันมาก
ระหว่างรัชกาลที่ ๕ เสด็จมาประทับอยู่ประตูน้ำบางเหี้ยเป็นเวลา ๓ วัน พระองค์ได้รับสั่งให้นิมนต์หลวงพ่อปานเข้าเฝ้าเพื่อไต่ถามในเรื่องต่างๆ ขณะที่หลวงพ่อปานเดินทางไปเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวนั้น ท่านได้ให้เด็กชายป๊อดถือพานใส่เขี้ยวเสือที่แกะเป็นรูปเสือไปด้วย เมื่อไปถึงที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ หลวงพ่อปานได้เรียกเอาพานใส่เขี้ยวเสือจากเด็กชายป๊อดที่ถือติดตามท่านไป แต่เด็กชายป๊อดบอกว่า
“เสือไม่มีแล้ว”
เพราะมันกระโดดน้ำไป ในระหว่างทางจนหมดแล้ว หลวงพ่อปานจึงให้นำเอาดินเหนียวมาปั้นเป็นหมูแล้วเสียบกับไม้แกว่งล่อเอา เสือขึ้นมาจากน้ำ หน้าพระพักตร์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ซึ่งประทับทอดพระเนตรอยู่ตลอด จนพระองค์ถึงกับตรัสว่า
“พอแล้วหลวงตา”
หลัง จากนั้นหลวงพ่อได้ถวายเขี้ยวเสือแกะนั้นแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ทรงพิจารณาชั่วครู่ จึงตรัสถามชื่อพระเถระรูปร่างสูงใหญ่ ผู้ปลุกเสก
เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน
ทูลว่าท่านชื่อ ปาน ( ติสฺสโร ) เป็นเจ้าอาวาสวัดบางเหี้ย พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ มีรับสั่งกับพระปานว่า
“ได้ยินชื่อเสียงและกิตติคุณมานาน เพิ่งเห็นตัววันนี้” แล้วรับสั่งถามว่า “ที่แจกเครื่องรางเป็นรูปเสือมีความหมายว่าอย่างไร”
หลวงพ่อปานทูลตอบว่า “ได้ไปรุกขมูลธุดงค์ในป่า พบเสือใหญ่หลายครั้ง ได้สังเกตดูเห็นว่า “เสือ” เป็นสัตว์ปราดเปรียวฉลาด ว่องไว เฉียบขาด มีตบะและอำนาจ สามารถที่จะใช้ตาสะกดสัตว์อื่นให้อยู่ในอำนาจได้ คนทั่วไปเรียกผู้ร้ายใจฉกรรจ์ว่า “ไอ้เสือ” ก็คือเอาความเก่งกาจของเสือมานั้นเอง การที่ทำเครื่องรางรูปเสือ มิใช่สนันให้คนกลายเป็น “ไอ้เสือ” เพียงแต่ต้องการเอาลักษณะของเสือจริงในป่าที่ปราดเปรียว ว่องไว เฉลียวฉลาด เฉียบขาดมาเป็นตัวอย่างเท่านั้น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงพอพระทัยในคำตอบของพระปานยิ่งนัก (ด้วยท่านมิได้โอ้อวดว่า เครื่องรางของท่านดีเด่น แต่ประการใด) ทรงพระราชทานผ้าไตรและผ้ากราบ ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น
“พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ”
ตั้งแต่นั้นมา เสือของหลวงพ่อปานจึงยิ่งเป็นที่เลื่องลือกันในสมัยนั้นมาก เพราะพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงสนพระทัยในเขี้ยวเสือของหลวงพ่อปาน จึงทำให้พสกนิกรทั่วไปต่างพูดถึงเรื่องความสนพระทัยของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล ที่ ๕ ที่มีต่อเขี้ยวเสือของหลวงพ่อปาน ซึ่งทำให้เขี้ยวเสือของหลวงพ่อปานเป็นที่ต้องการและเสาะแสวงหาของบุคคลทั่ว ไป ตั้งแต่ชนชั้นสูงในพระราชสำนักจนถึงชาวบ้านทั่วไป ที่อยากจะมีไว้ครอบครองซักตัว และเมื่อมาถึงปัจจุบันจึงเป็นของอันล้ำค่าหาได้ยากมากในปัจจุบัน เพราะท่านสร้างจากเขี้ยวเสือจริง และสร้างไว้น้อยมาก เมื่อใครได้ไปก็ไม่อยากให้ใครรู้ว่าตัวเองมี จึงไม่ค่อยปรากฏให้เห็นมากนัก
สำหรับ
เขี้ยวเสือของหลวงพ่อปาน
ท่าน แกะมาจากเขี้ยวเสือโคร่ง เป็นรูปเสือนั่งชันเข่ามีทั้งหุบปาก และอ้าปาก เท่าที่ทราบท่านใช้ช่างแกะอยู่ 5 คน คือ ช่างฟัก ช่างชม ช่างนิล ช่างมาก และช่างมา จึงมีรูปร่างไม่เหมือนกัน เสือเขี้ยวแกะ มักมีขนาดไม่ใหญ่มาก มีตากลม ขาหน้าทั้งสองใหญ่ และเล็บจิกลงบนพื้น จุดสำคัญให้ดูรอยจาร โดยท่านจะจาร ตัวอุ มีทั้งหางตั้งขึ้นและลงที่ขาหน้า และลงอักขระคล้ายเลข ๓ หรือ เลข ๗ ตรงสีข้าง ส่วนใต้ฐานท่านจะจาร “ยันต์กอหญ้า” (นะขมวด) ถ้าเสือตัวใหญ่ท่านจะลง ยันต์กอหญ้า 2 ตัวตรงข้ามกัน และลงตัว ฤ ฤา พร้อมกับ ตัวอุณาโลม บางตัวมีรอยขีด 2 เส้นขนาดกันดูให้ดีจะเห็นเป็นเส้นลึกและคมชัด จนมีคำกล่าวในการดูเสือเขี้ยวแกะของหลวงพ่อปานว่า “เสือเขี้ยวโปร่งฟ้า (เขี้ยวกลวง) ตาลูกเต๋า ยันต์กอหญ้า หน้าเหมือนแมว หูเหมือนหนู” ซึ่งมีทั้งแบบเขี้ยวซีกและเต็มเขี้ยว เสือยุคแรกของท่านเป็นเสือเขี้ยวซีก ให้คุณด้าน มหาอำนาจ ส่วนเสือตัวเล็กๆ ที่แกะจากปลายเขี้ยวเรียกว่า เสือสาลิกา ซึ่งนิยมเลี้ยงไว้ในตลับสีผึ้งทาปาก
หลักวิธีพิจารณา
การพิจารณา
เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน
ให้ ดูความแห้งความเป็นธรรมชาติของเขี้ยวเสือ ต้องพิจาณาเขี้ยวเสือที่มีวรรณะเหลืองใส มีรอยหดเหี่ยวที่เรียกว่า “เสือขึ้นขน” โดยจะเห็นเป็นเสี้ยนเล็กๆ และอาจมีรอยแตกอ้า หากผ่านการใช้งานมาแล้วสีของเขี้ยวจะยิ่งเข้ม สำหรับของปลอมมักจะเอาเขี้ยวหมี เขี้ยวหมูป่า หรือกระดูกสัตว์มาเคี่ยวด้วยน้ำมันงา ซึ่งเขี้ยวจะมีการอมน้ำมันอยู่มาก บางครั้งพวกหัวหมอพอเคี่ยวน้ำมันเสร็จก็จะเอามาต้มเพื่อไล่น้ำมันออกทำให้ ผิวมีความด้าน ดังนั้นของแท้ต้องดูที่ “เขี้ยวมีความแห้ง วรรณะเหลืองใส ผิวเป็นมันวาวไม่ด้าน และไม่อมน้ำมัน”
เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน
มี พุทธคุณครบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางเมตตา แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี แต่ที่เด่นที่สุดคือมหาอำนาจ ใครที่สนใจอยากบูชาไว้ครอบครอง ต้องขอบอกว่าพิจารณากันให้ดีครับ เพราะของดีหายากแบบนี้ มีไม่มาก จะเช่าบูชาก็ต้องพินิจพิเคราะห์กันให้ถ้วนถี่ เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง
เครดิค : http://blog.kaidee.com/lifestyle/amulet-collect/